ลงทุนผิดเงื่อนไข SSF RMF ต้องทำอย่างไร
กองทุนรวมลดหย่อนภาษี8,807

ลงทุนผิดเงื่อนไข SSF RMF ต้องทำอย่างไร
หลายท่านคงได้ทราบถึงประโยชน์ของ กองทุนลดหย่อนภาษี ทั้ง SSF RMF กันดีแล้ว หรือสามารถย้อนอ่านได้ที่ กองทุนรวมประหยัดภาษี RMF และ SSF ดีอย่างไร วันนี้ 724 จะมาเล่าถึงการผิดเงื่อนไขของการลงทุน SSF RMF ว่ากรณีไหนบ้างที่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข หรือหากเราได้ทำการผิดเงื่อนไขไปแล้วเราควรทำอย่างไรดี
การผิดเงื่อนไขของ SSF
1.การซื้อเกินสิทธิ
1.1 กรณียังไม่ได้นำไปลดหย่อนภาษี ควร “ขายคืน” ส่วนที่เกินสิทธิ ภายในปีเดียวกัน และนำกำไรเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี
1.2กรณีนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว ควร “ถือ” ส่วนที่เกินสิทธิไว้รอขายทีเดียวตอนครบกำหนด เพื่อไม่ให้ผิดเงื่อนไขการขายคืนก่อนกำหนดการถือครอง และนำกำไรเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี
2.การขายคืนก่อนครบกำหนด (ลงทุนน้อยกว่า 10 ปี)
2.1กรณียังไม่ได้นำไปลดหย่อนภาษี ควร “ขายคืน” แล้วนำกำไรเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี
2.2กรณีนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว ควร “ขายคืน” โดยต้องคืนภาษี ที่เคยได้รับลดหย่อนภาษีไป และ “จ่ายเบี้ยปรับ 1.5% ต่อเดือน” ของยอดเงินภาษีที่ต้องชำระคืนนับจากเดือน เมษายน ของปีที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปจนถึงเดือนที่ยื่นคืนภาษี และนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี
การผิดเงื่อนไขของ RMF
1.การซื้อเกินสิทธิ
1.1กรณียังไม่ได้นำไปลดหย่อนภาษี ควร “ขายคืน” ส่วนที่เกินสิทธิภายในปีเดียวกัน และนำกำไรเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี
1.2กรณีนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว ควร “ถือ” ส่วนที่เกินสิทธิไว้รอขายทีเดียวตอนครบกำหนด คือขายคืนเมื่ออายุ 55 ปี และลงทุนเนื่องมากกว่า 5 ปี และนำกำไรเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี
1.การระงับการซื้อเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
ต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง ที่ใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว หากจ่ายล่าช้าต้องจ่ายเบี้ยปรับ 1.5% ต่อเดือนของยอดเงินภาษีที่ต้องชำระคืน โดยคิดตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไขการลงทุนนั้น
2.การขายคืนก่อนอายุ 55 ปี แต่ลงทุนมากกว่า 5 ปี
ต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง ที่ใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว หากจ่ายล่าช้าต้องจ่ายเบี้ยปรับ 1.5% ต่อเดือนของยอดเงินภาษีที่ต้องชำระคืนโดยคิดตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ถัดจากปีที่ขายผิดเงื่อนไขการลงทุนนั้น โดยไม่ต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขายเพื่อเสียภาษี เนื่องจากลงทุนเกิน 5 ปี ซึ่งครบกำหนดการถือครอง
3.การขายคืนก่อนอายุ 55 ปี และลงทุนน้อยกว่า 5 ปี
ต้องคืนภาษีทุกปีที่ได้รับลดหย่อนไป หากจ่ายล่าช้าต้องจ่ายเบี้ยปรับ 1.5% ต่อเดือนของยอดเงินภาษีที่ต้องชำระคืนโดยคิดตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ถัดจากปีที่ขายผิดเงื่อนไขการลงทุนนั้น และนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี เนื่องจากลงทุนน้อยกว่า 5 ปี จึงผิดเงื่อนไขการขายคืนก่อนครบกำหนด
4.การขายคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี แต่ลงทุนน้อยกว่า 5 ปี
ต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง ที่ใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว หากจ่ายล่าช้าต้องจ่ายเบี้ยปรับ 1.5% ต่อเดือนของยอดเงินภาษีที่ต้องชำระคืนโดยคิดตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ถัดจากปีที่ขายผิดเงื่อนไข การลงทุนนั้น เนื่องจากลงทุนน้อยกว่า 5 ปี จึงผิดเงื่อนไขการขายคืนก่อนครบกำหนดการถือครอง
SSF |
RMF |
กรณีผิดเงื่อนไขการซื้อ (ซื้อเกินสิทธิ) นำกำไรเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน (8) ในปีที่ขายเพื่อเสียภาษี |
กรณีผิดเงื่อนไขการซื้อ (ซื้อเกินสิทธิ) นำกำไรเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน (8) ในปีที่ขายเพื่อเสียภาษี |
กรณีผิดเงื่อนไขการขาย (ขายคืนก่อนครบกำหนดการถือครอง) 1. คืนภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนภาษีไป และต้อง “จ่ายเบี้ยปรับ 1.5% ต่อเดือน” ของยอดเงินภาษีที่ต้องชำระคืนนับจากเดือน เมษายน ของปีที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปจนถึงเดือนที่ยื่นคืนภาษี 2. นำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน (8) ในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี |
กรณีผิดเงื่อนไขการขาย (ขายคืนก่อนครบกำหนดการถือครอง) 1. คืนภาษีทุกปีที่ได้รับลดหย่อนไป หากจ่ายล่าช้าต้อง “จ่ายเบี้ยปรับ 1.5% ต่อเดือน” ของยอดเงินภาษีที่ต้องชำระคืนโดยคิดตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ถัดจากปีที่ขายผิดเงื่อนไขการลงทุนนั้น 2. นำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน (8) ในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษี |
ทราบอย่างนี้แล้ว เราควรวางแผนการลงทุนผ่านกองทุนลดหย่อนภาษีให้ดี ศึกษาเงื่อนไขและคำนวณให้ดีว่าเรามีสิทธิใช้ลดหย่อนปีละเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเกินสิทธิ เพราะนอกจากจะต้องคืนภาษีที่ใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว ยังต้องเสียเบี้ยปรับและนำกำไรจากการขายรวมเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ขาย เพื่อเสียภาษีอีกด้วย แต่หากมีความจำเป็นต้องขายก่อนครบกำหนดการถือครองก็สามารถทำได้แต่ควรคำนวณดีๆว่าคุ้มค่าภาษีที่ใช้สิทธิลดหย่อนไปหรือไหม
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ หากมีข้อสงสัยหรือสนใจอยากลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีสามารถติดต่อ LINE ID : @724Wealth ได้เลยค่ะ