กองทุนรวมประหยัดภาษี RMF/SSF ดีอย่างไร
กองทุนรวมลดหย่อนภาษี1,418

กองทุนรวมประหยัดภาษี RMF/SSF ดีอย่างไร
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( Retirement Mutual Fund : RMF) คือ กองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ลักษณะจะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับตนเองและครอบครัวยามเกษียณอายุ โดยรัฐบาลจูงใจนักลงทุนบุคคลธรรมดาโดยการให้ “สิทธิในการลดหย่อนภาษี”
กองทุนรวมเพื่อการออม ( Super Savings Fund : SSF) คือ กองทุนเน้นการออมระยะยาวและเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF ที่หมดอายุไปเมื่อปี 2562 ใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 – 2567 เพื่อจูงใจนักลงทุนให้ออมเงินระยะยาว
กองทุนรวม RMF / SSF กับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 2 เด้ง
1.เงินลงทุนนำไปลดหย่อนภาษีได้
2.กำไรจากการขายหน่วยลงทุนไม่ต้องเสียภาษี
ความแตกต่างระหว่าง SSF และ RMF
รายละเอียด |
SSF |
RMF |
นโยบายการลงทุน |
ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท |
ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท |
นโยบายการจ่ายปันผล |
มีทั้งแบบมีปันผลและไม่มีปันผล |
ไม่มีปันผล |
สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
ลดหย่อนภาษีสูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆไม่เกิน 500,000 บาท |
ลดหย่อนภาษีสูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ไม่เกิน 500,000 บาท |
จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำและความต่อเนื่องการลงทุน |
ไม่มีขั้นต่ำและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี |
ไม่มีขั้นต่ำ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีหรือปีเว้นปี ยกเว้นปีที่ไม่มีเงินได้ |
ระยะเวลาการถือครอง |
ถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันซื้อ |
ถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรกและขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ |
การลงทุน |
ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี |
ลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี) |
ปีที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
เริ่มปี 2563 - 2567 |
ไม่มีสิ้นสุด |
การออมเพื่อเกษียณอะไรบ้าง
1.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)/กองทุนโรงเรียนครูเอกชน
- สูงสุด 15 % ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
2.กองทุนการออมแห่งชาติ
- ตามจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท
3.ประกันชีวิตบำนาญ
- สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
4.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาทส่วนเกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ให้หักจากเงินได้
5. กองทุนรวม RMF
- สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
6. กองทุนรวม SSF
- สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
รวมการออมเพื่อเกษียณต้องไม่เกิน 500,000 บาท ใครควรซื้อ RMF/SSF
ควรซื้อ RMF |
ควรซื้อ SSF |
ผู้ที่มีเงินได้และต้องการลดหย่อนภาษี |
ผู้ที่มีเงินได้และต้องการลดหย่อนภาษี |
ผู้ที่ต้องการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ |
ผู้ที่ต้องการออมเงินระยะยาว 10 ปี |
ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ |
ผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ |
ผู้ที่เข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขการลงทุน RMF |
ผู้ที่เข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขการลงทุน SSF |
ผู้ที่ไม่มีสวัสดิการมารองรับในวัยเกษียณ |
ผู้มีเงินได้อายุน้อยกว่า 45 ปี |
ผู้มีเงินได้อายุ 45 ปี ขึ้นไป |
|
การลงทุนใน RMF หรือ SSF ไม่ควรลงทุนเกินสิทธิทางภาษี เพราะจะทำให้ผิดเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี ครั้งถัดไป 724 จะมาเล่าให้ฟังว่าถ้าหากเราลงทุนใน RMF / SSF ผิดเงื่อนไขจะต้องทำอย่างไรและเสีย จะสิทธิทางภาษีหรือรอติดตามกันด้วยนะคะ หากสนใจอยากลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีติดต่อ 724Wealth ได้เลยค่ะ