724 Wealth

ความเสี่ยงต่างๆนานาที่ควรรู้ ก่อนลงทุน

ความเสี่ยงต่างๆนานาที่ควรรู้ ก่อนลงทุน

“ความเสี่ยงและผลตอบแทน เป็นของคู่กันเหมือนปาท่องโก๋ ช้อนกับส้อม ท้องฟ้ากับเมฆ หรืออะไรก็แล้วแต่” เพราะถ้าหากนักลงทุนต้องการผลตอบแทนสูง ก็ต้องเผื่อใจเอาไว้ด้วยว่ามีโอกาสขาดทุนสูงด้วยเช่นกัน วันนี้ 724 Wealth จะมาจำแนกประเภทความเสี่ยงต่างๆ ในการลงทุนมีด้วยกันดังนี้

1. ความเสี่ยงจากภาวะตลาด (Market Risk) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตลาด ทำให้ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ทั้งหมดในตลาดนั้นๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจในประเทศรุ่งเรือง อาจทำให้ราคาของสินทรัพย์ทั้งหมดในตลาด มีแนวโน้มลดลง

2. ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง (Liquidity Risk) เป็นความเสี่ยงจากการที่นักลงทุนไม่สามารถซื้อขายสินทรัพย์ที่ลงทุนได้ในราคาหรือจำนวนตามที่ต้องการ

3. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะของธุรกิจนั้นๆ เช่น ประเภทธุรกิจ โครงสร้างรายได้ กำไรสุทธิธุรกิจ ฯลฯ ที่จะส่งผลต่อราคาสินทรัพย์

4. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เป็นความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ ซึ่งส่งผลให้เจ้าหนี้หรือผู้ลงทุนมีโอกาสไม่ได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยคืน

5. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rates Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์บางประเภท รวมถึงความต้องการกู้ยืมเงินทุน ผลตอบแทนของเงินออม

6. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk) เงินเฟ้อ” มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ถ้าหากเงินเฟ้อมีการปรับขึ้นแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป จะเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจซึ่งจะส่งผลทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการจ้างแรงงาน ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ในทางกลับกันหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวอย่างรุนแรง (Hyperinflation) ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นหลายเท่า ทำให้ผู้คนไม่อยากใช้เงิน ทำให้บริษัทมีกำไรลดลง อัตราการเลิกจ้างแรงงานสูงขึ้น ผลตอบแทนจากการลงทุนจะลดลงด้วยเช่นกัน

7. ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดขึ้น (Event Risk) อาจทำให้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจและราคาสินทรัพย์ เช่น ภัยทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การครอบงำหรือปรับปรุงบริษัท เป็นต้น

8. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย (Regulatory Risk หรือ Legal Risk) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายหรือกฎระเบียบ เช่น ความเสี่ยงที่รัฐบาลปรับเปลี่ยนอัตราภาษีของผลตอบแทนจากการลงทุน การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศ (Foreign Limit) ฯลฯ

9. ความเสี่ยงของภาครัฐบาล (Sovereign Risk) เกิดจากรัฐบาลผิดนัดชำระดอกเบี้ย หรือมูลค่าบางส่วนในตราสารหนี้ที่รัฐบาลออกจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่รัฐบาลปฏิเสธการชำระหนี้ทั้งที่สามารถชำระหนี้ได้ หรือกรณีรัฐบาลไม่สามารถชำระนี้ได้จริง
แต่ความเสี่ยงนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จนส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและการคลังของรัฐบาลประเทศนั้นๆ
10. ความเสี่ยงจากการไม่เข้าใจหลักทรัพย์ที่ลงทุน
(Black-box Risk) เป็นการที่นักลงทุนขาดความรู้เกี่ยวกับหลักทรัพย์
อัตราผลตอบแทน และความเสี่ยงของสินทรัพย์ โดยปกติจะเกิดกับตราสารที่มีความซับซ้อน ตราสารที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ หรือตราสารทางการเงินชนิดใหม่


สุดท้ายสำหรับใครที่อยากเริ่มลงทุน หรือกำลังมองหาช่องทางการลงทุน ทาง 724 Wealth สามารถให้คำปรึกษาและมีช่องทางการบริการ รวมไปถึงกองทุนรวมประเภท SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีท่านสามารถติดต่อมายังทีมงาน 724 Wealth เพื่อให้เราช่วยอำนวยความสะดวกได้ที่ Line ID : @724Wealth หรือคลิ๊ก https://lin.ee/N1IQLH5

ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย