บทความ

คัมภีร์​ว่าด้วยเรื่อง ‘ทำใบขับขี่’ ทุกเรื่องต้องรู้รวมมาไว้ให้หมดแล้ว

ทุกเรื่องที่คุณสงสัยเกี่ยวกับการทำใบขับขี่ ในบทความนี้ได้รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับการทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลไว้ให้อย่างครบถ้วน

อ่านจบแล้ว เตรียมตัวให้พร้อมไปแล้วไม่มีเสียเที่ยว !

การทำใบขับขี่ และต่อใบขับขี่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ 

(อัปเดตล่าสุด ปี 2564)

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา กรมการขนส่งได้ระบุว่า การทำใบขับขี่ต้องมีใบรับรองแพทย์ใช้ประกอบเป็นหลักฐานในการดำเนินการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นไม่มีโรคประจำตัวหรือสภาวะของโรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถตามที่แพทยสภากำหนด

ใบรับรองแพทย์สำหรับทำใบขับขี่ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 

ส่วนที่ 1 ของผู้ขอรับรองสุขภาพตนเอง จำเป็นต้องระบุถึงประวัติสุขภาพต่าง ๆ ได้แก่ 

  • โรคประจำตัว

  • อุบัติเหตุและการผ่าตัด

  • การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

  • โรคลมชัก (ต้องมีประวัติจากแพทย์ผู้รักษาว่าปลอดจากอาการลมชักมากกว่า 1 ปี) 

  • ประวัติที่สำคัญอื่น ๆ

ส่วนที่ 2 ของแพทย์ ผู้ตรวจและรับรองว่าผู้ขอใบรับรองสุขภาพทำใบขับขี่ว่าไม่มีโรคประจำตัวจนเป็นเหตุให้ร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถขับขี่รถได้

ตัวอย่างใบรับรองแพทย์

การเปลี่ยนแปลงกำหนดข้อบังคับนี้ บังคับใช้ทั้งผู้ทำใบขับขี่ใหม่ และขอต่อใบขับขี่ เพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงว่าสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ขับรถอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัย และอาจมีโรคประจำตัว จึงมีความจำเป็นต้องตรวจสุขภาพเบื้องต้นว่ายังคงสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย

การจองคิวออนไลน์ทำใบขับขี่ และต่อใบขับขี่

จากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อลดการแออัด และเว้นระยะห่างทางสังคม กรมการขนส่งทางบก จึงออกมาตรการเปิดให้ทำใบขับขี่ และต่ออายุใบขับขี่ทุกชนิด แต่ต้องจองคิวออนไลน์เท่านั้น โดยสามารถจองคิวออนไลน์ทำใบขับขี่ได้ คลิกที่นี่

การทำใบขับขี่ชนิดชั่วคราว (ขอใหม่)

การขอทำใบขับขี่ชนิดชั่วคราว หรือการทำใบขับขี่ใหม่ ใบอนุญาตขับขี่จะมีอายุ 2 ปี โดยมีอัตราค่าธรรมเนียม 100 บาทในการถ่ายรูป และพิมพ์บัตรพลาสติก

หลักฐานประกอบคำขอทำใบขับขี่

  1. บัตรประชาชนฉบับจริง

  • กรณีชาวต่างชาติให้ยืนใบสำคัญบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง (PASSPORT) พร้อมสำเนา
  • กรณีชาวต่างชาติให้ยื่นใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบอนุญาตการทำงาน (WORK PERMIT) ที่ระบุที่พักอาศัยของผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ

  1. ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน

ขั้นตอนการทดสอบทำใบขับขี่ชนิดชั่วคราว

  1. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

  1. เข้ารับอบรม (ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง) เพื่อรับใบอบรมนำไปสอบข้อเขียน

  2. ทดสอบข้อเขียนผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam)

  3. ทดสอบขับรถ

  4. ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ

  5. ทดสอบสายตาทางลึก

  6. ทดสอบสายตาทางกว้าง

  7. ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)

การทำใบขับขี่รถส่วนบุคคล (เปลี่ยนจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี)

การทำใบขับขี่รถส่วนบุคคล หรือการเปลี่ยนจากใบขับขี่ชนิดชั่วคราว 2 ปีเป็นชนิด 5 ปี คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่ส่วนบุคคลจำเป็นจะต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาก่อนแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

หลักฐานประกอบคำขอทำใบขับขี่ 

  1. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

  2. บัตรประชาชนฉบับจริง

  3. ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน

ขั้นตอนการทดสอบทำใบขับขี่รถส่วนบุคคล 

  • ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
  •  ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ

  • ทดสอบสายตาทางลึก

  • ทดสอบสายตาทางกว้าง

  • ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)

หมายเหตุ

*กรณีใบขับขี่ชั่วคราวหมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนทดสอบข้อเขียน

*กรณีบขับขี่ชั่วคราวหมดอายุเกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนอบรม, ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถ

การต่ออายุใบขับขี่รถส่วนบุคคล (ต่อชนิด 5 ปี เป็นชนิด 5 ปี)

การจะต่ออายุใบขับขี่ส่วนบุคคลชนิด 5 ปีได้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลยู่เดิมก่อนแล้วเท่านั้น 

หลักฐานประกอบคำขอต่อใบขับขี่

  1. ใบขับขี่เดิม หรือใบแทน

  2. บัตรประชาชนฉบับจริง

 ขั้นตอนการทดสอบขอต่อใบขับขี่รถส่วนบุคคล 

  1. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

  • ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ

  • ทดสอบสายตาทางลึก

  • ทดสอบสายตาทางกว้าง

  • ทดสอบปฎิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)

  1. อบรม 1 ชั่วโมง

หมายเหตุ

*กรณีใบอนุญาตหมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน

*กรณีใบอนุญาตหมดอายุเกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน การสอบขับรถ และยื่นใบรับรองแพทย์

724 Market ครบเครื่องเรื่องประกันออนไลน์ สนใจต่อพรบ.ออนไลน์ทั้งรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ รวมถึงรวมทุกประกันออนไลน์ที่คุณสนใจมาไว้ให้แล้วที่นี่ที่เดียว สนใจคลิกเลย

FAQ : คำถามที่พบบ่อย 

  • ใบขับขี่หายต้องทำอย่างไรดี  ?

ยื่นคำขอใบแทนใบอนุญาตขับขี่ ที่สำนักงานขนส่ง เจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกใบแทนใบขับขี่ โดยมีค่าใช้จ่าย คือ ค่าธรรมเนียมคำขอ ฉบับละ 5 บาท, ค่าธรรมเนียมใบแทนกรณีสูญหายหรือชำรุด 100 บาท, ค่าบริการถ่ายรูปและพิมพ์ใบอนุญาตขับรถ 100 บาท รวมเป็น 205 บาท

  • โดนยึดใบขับขี่ทำอย่างไรดี ?

     ปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถยึดใบขับขี่ได้จากการแก้ไขกฎหมายจราจร เมื่อปี 62 พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่12) พ.ศ.2522 ที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาว่าถูกจับผิดกฎจราจรไม่โดนยึดใบขับขี่ การปรับปรุงนี้ให้เปลี่ยนเป็นการบังคับการชำระค่าปรับตามกฎหมายเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและการควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ด้วยมาตรการตัดแต้มที่อยู่ในกฎหมายฉบับปรับปรุงนี้พร้อมกัน

  • ใบขับขี่บิ๊กไบค์ คืออะไร ? 

ผู้ที่ประสงค์จะขับรถจักรยานยนต์ที่มีกำลังสูง (Big bike) ต้องผ่านการอบรมและทดสอบเพิ่มเติม เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องใช้ทักษะการขับรถสูงกว่าปกติ สร้างความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่และประชาชนผู้ใช้ถนนไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน