724 Wealth

Technical Trick EP.1 : Volume ใช้วิเคราะห์อะไรบ้างบนหน้า Trade

Technical Trick EP.1 : Volume ใช้วิเคราะห์อะไรบ้างบนหน้า Trade


การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยวิธีทางเทคนิค เป็นการใช้ข้อมูลสถิติ และการเคลื่อนไหวของราคา ในอดีตมาวิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคาหลักทรัพย์ในอนาคต ซึ่งก็ประกอบด้วย รูปแบบราคา, เส้นแนวโน้ม, แนวรับ / แนวต้าน, อินดิเคเตอร์ ฯลฯ
แต่ในบทความนี้ 724 Wealth จะมาแนะนำ เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกๆตลาดการเงิน รวมทั้งตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ที่สำคัญใช้งานง่ายนั้นคือ Volume

Volume : วอลุ่ม
คือ ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นๆ เป็นอารมณ์ความคึกคักของตลาด แม้กระทั่งความโลภ หรือความกลัวในเวลานั้นๆ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสนใจของนักลงทุน ยิ่งมีปริมาณการซื้อขายมาก แสดงว่าหลักทรัพย์นั้นมีความน่าสนใจ และมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสูง แต่ในทางกลับกันหากปริมาณการซื้อขายในหลักทรัพย์ตัวนั้นน้อยแสดงว่าหลักทรัพย์นั้นอาจจะอยู่นอกสายตานักลงทุนส่วนใหญ่ และไม่ค่อยมีการซื้อขายนั้นเอง ซึ่งบทความนี้จะพามาเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์หุ้น โดย Volume

สัญญาณ Volume บอกอะไรบ้าง

1. ความสนใจของนักลงทุน : Volume ที่สูงบ่งบอกถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในหุ้นนั้นๆ
2. สัญญาณการเปลี่ยนแปลงราคา : Volume ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอาจเป้นสัญญานการ เปลี่ยนแปลงแนวโน้มราคา
หุ้นในอนาคต
3. สภาพคล่องของหุ้น : หุ้นที่มี Volume สูงมักมีสภาพคล่องสูง ทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นระหว่างนักลงทุน
ทำได้ง่ายขึ้น
4. สัญญาณนักลงทุนรายใหญ่ : หุ้นที่มี Volume เพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติ อาจแปลว่ามีนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาซื้อ
หรือขาย
วิธีดูกราฟราคาหุ้นประกอบคู่กับ Volume
กรณีราคาปรับตัวขึ้น พร้อมกับ Volume เพิ่มขึ้นด้วย แปลว่าราคาขาขึ้นอย่างทรงพลัง ราคาหุ้นมีโอกาสขึ้นต่อ
กรณีราคาปรับตัวขึ้น แต่ Volume ลดลง แปลว่าแนวโน้มราคาขาขึ้นกำลังอ่อนกำลัง หรือราคาหุ้นกำลังจะพักตัว
กรณีราคาปรับตัวขึ้นถึงช่วงราคาจุดสูงสุดเดิม แต่ Volume รอบปัจจุบันมีไม่มากเท่าเดิม แสดงถึงราคาอาจทะลุผ่านขึ้นไปได้ยาก
กรณีราคาปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นแนวโน้มมาพอสมควร จากนั้น Volume ก็เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ (Volume พีค) แปลว่า มีโอกาสที่จะเปลี่ยนจากแนวโน้มขาขึ้น เป็นขาลง (Trend Reversal)

กรณีราคาปรับตัวลง พร้อมกับ Volume ที่เพิ่มขึ้น แปลว่าราคาหุ้นลงแบบยังมีแรงขายอยู่ มีโอกาสลงต่อ
กรณีราคาปรับตัวลง พร้อมกับ Volume ที่น้อย แปลว่าราคาหุ้นลงแบบค่อยๆลง (ซึมลง)
กรณีราคาปรับตัวลง ถึงฐานเดิม แต่ Volume รอบปัจจุบันมีไม่มากเท่าเดิม แสดงถึงราคาอาจทะลุผ่านลงไปได้ยาก
กรณีราคาปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นแนวโน้มมาพอสมควร จากนั้น Volume ก็เริ่มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แปลว่า มีโอกาสที่จะเปลี่ยนจากแนวโน้มขาลง เป็นขาขึ้น (Trend Reversal)

Volume ใช้สังเกตว่าราคาผ่าน แนวรับ/แนวต้าน จริง หรือแค่หลอกๆ
เป็นเรื่องปกติเมื่อราคาเกิดการ ทะลุผ่านแนวรับหรือแนวต้าน (Breakout) ไปจากกรอบราคาเดิม Volume ต้องเพิ่มสูงขึ้น เพื่อสนับสนุนเพื่อจะทราบได้ว่า การเคลื่อนไหวผ่านกรอบราคาดังกล่าวทรงพลังแค่ไหน
แต่ถ้าหากราคาผ่านไปด้วย Volume ที่มีน้อย แปลว่ามีนักลงทุนซื้อขายกันไม่กี่คน (อาจโยนหุ้นเล่นกันในวงเล็กๆไม่กี่คนก็ได้) จึงมีโอกาสโดนขายทำให้ราคาลงกลับไปจุดเดิม

ตัวอย่าง Peak Volume ที่ทำให้เกิดสัญญาณกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้น เป็นขาลง
กราฟจาก Streaming by Settrade

 

สรุป Volume ช่วยให้นักลงทุนทราบถึงความ “น่าสนใจ” ของนักลงทุนในตลาดที่มีต่อหุ้นนั้นๆ และยังเป็นการยืนยันแนวโน้ม หรืออาจจะเป็นจุดเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มราคาหุ้นก็ได้ นอกจากนี้ Volume ยังใช้วิเคราะห์ร่วมกับอินดิเคเตอร์ ประเภทอื่นๆ บนหน้ากราฟซื้อขายหุ้นได้อีกด้วย