บทความ

กองทุนส่วนบุคคล “กับชีวิตขับเคลื่อนอัตโนมัติ”

กองทุนส่วนบุคคล “กับชีวิตขับเคลื่อนอัตโนมัติ”

 

บางคนอาจจะมองว่ากองทุนนั้นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ “ให้ผลตอบแทนน้อย เงินเติบโตช้า” หรือบ้างก็ว่า “ช้าๆ แบบนี้ดีแล้วไม่อยากเสี่ยงมาก” อีกทั้งในสมัยนี้กองทุนรวมมีมากมายหลากหลายทั้งในประเทศและนอกประเทศ มันก็ทำให้นักลงทุนไม่รู้ว่าจะนำเงินไปลงกองทุนไหน บางกองทุนก็ถือหลักทรัพย์ในธุรกิจที่ตนเองต้องการ แต่ก็ปนมากับสิ่งที่ไม่ต้องการด้วย จนเกิดการฉุกคิดว่า “การจะหากองทุนที่ถือหลักทรัพย์ที่ต้องการทั้งหมดนี่ยากเสียจริง” วันนี้ผมเลยนำสิ่งหนึ่งมาให้รู้จักครับ คือ กองทุนส่วนบุคคล

 

  1. กองทุนส่วนบุคคล คืออะไร ?

กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) คือ รูปแบบการลงทุนที่มีเอกสิทธิ์เฉพาะตัวสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการลงทุน ที่อาจจะมาจากเป้าหมายที่ผู้ลงทุนต้องการเป็นหลัก (Goal base investing) สร้างเงื่อนไข หรือข้อกำหนดของนักลงทุนเองตามความต้องการ และความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ

 

โดยผู้ลงทุนจะได้รับคำแนะนำค้นหาเส้นทางไปถึงเป้าหมายด้านการลงทุนอย่างใกล้ชิด ซึ่งรูปแบบการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลนั้นได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการลงทุนให้ เหมาะสมกับสภาวการณ์ตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างผลตอบแทนให้แก่ลูกค้า ซึ่งผลตอบแทนนั้นอาจจะไม่ต้องสูงที่สุด แต่อาจจะเป็นผลตอบแทนที่มีความปลอดภัยและให้ความสบายใจได้มากที่สุด ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อีกทั้งกองทุนส่วนบุคคลยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

 

  1. กองทุนส่วนบุคคล ต่างจากกองทุนรวมอย่างไร ?

ถ้าให้สรุปชัดๆ ในบรรทัดเดียวคือ ผู้ลงทุนในกองทุนรวมจะไม่มีเอกสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการลงทุนในกองทุนรวมที่ตนเองลงทุนได้

โดยกองทุนรวมจะเป็นการระดมเงินจากผู้ลงทุนรายย่อย มารวมกันเป็นเงินก้อนใหญ่ แล้วไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นบริษัทจัดการจะนำเงินที่ระดมทุนได้ ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆ ตามนโยบายที่ได้รับอนุมัติตามโครงการจัดการกองทุนรวมนั้น โดยผู้ลงทุนแต่ละรายจะได้รับ “หน่วยลงทุน” (Unit Trust) เพื่อเป็นหลักฐานในความเป็นเจ้าของในเงินที่ได้ลงทุนไป

 

  1. กองทุนส่วนบุคคล มีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ?

  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Front-end fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการซื้อหน่วยลงทุน โดยจะบวกเข้าไปในมูลค่าหน่วยลงทุนที่จ่ายซื้อ
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (Management Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ บลจ. เรียกเก็บจากการบริหารเงินลงทุนของกองทุนส่วนบุคคล โดยค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจะอยู่ที่ประมาณ 1 2% ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนและประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน
  • ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลเรียกเก็บจากกองทุน
  • ค่าส่วนแบ่งจากผลกำไร (Performance Fee) เป็นค่าธรรมเนียมที่ทาง บลจ. ตกลงกับผู้ลงทุนว่าหากทำผลงานได้เกินกว่าผลตอบแทนที่กำหนดไว้ (Hurdle Rate) จะขอส่วนแบ่งจากกำไรส่วนที่เกินจาก Hurdle Rate เแต่ในทางกลับกัน หากผลตอบแทนของกองทุนส่วนบุคคลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10% ต่อปี ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะไม่ถูกเรียกเก็บ

 

  1. กองทุนส่วนบุคคล เหมาะกับใครเป็นพิเศษ ?

จริงๆ แล้วก็ไม่มีใครกำหนดอย่างแน่ชัดหรอกครับว่าใครเหมาะกับการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล แต่หากว่าถ้าเป็นคนที่ “มีความต้องการและมีเป้าหมายในการลงทุนที่ชัดเจน มีเป้าหมายชีวิต” ก็จะทำให้ง่ายต่อการหาแนวทางในการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายนั้นมากที่สุด ซึ่ง บลจ. ลีฟ แคปปิตอล พวกเราให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มาก หากใครยังหาเป้าหมายของตัวเองไม่พบ ลองเข้ามาพูดคุยกับเราดูสิครับ

 

หลังจากอ่านจนถึงตรงนี้ก็พอจะทราบแล้วใช่ไหมหล่ะครับว่าทำไมกองทุนส่วนบุคคล ถึงให้ ”ชีวิตขับเคลื่อนอัตโนมัติ” เพราะว่าเป็นกองทุนที่จัดตั้งมาสำหรับความต้องการของนักลงทุนอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ลงทุนเพียงแค่นำเงินมาลงทุนและหลังจากนั้นผู้จัดการกองทุนหรือ บลจ. จะเป็นคนจัดการทุกอย่างให้นักลงทุนเอง โดยสิ่งที่ต้องทำคือใช้ชีวิตของท่านให้มีความสุข

 

หากใครที่สนใจกองทุนส่วนบุคคล สามารถรับคำปรึกษากับเราได้ที่ :  https://liefcapital.com/get-advice/